
หากคุณต้องถอนฟัน อย่าเพิ่งกังวลไปนะครับ เพราะจริงๆแล้วกระบวนการถอนฟัน มันต้องอยู่ภายใต้ การระงับความเจ็บปวด โดย ยาชา ก่อน จึงจะถอนได้ เอาง่ายๆคือ ถ้าไม่ชา จะไม่ถอน ! แต่คุณก็ต้องไม่กลัว เพราะถ้าคุณกลัว อะไรๆก็ไม่ชา แม้จะชาแล้วก็ตาม ไม่เช่นนั้นคงถอนไม่ได้แน่ๆครับ
เรามาดูกระบวนการถอนฟันคร่าวๆ (ในกรณีทั่วๆไปนะครับ)
-คุณหมอฟันจะทำการฉีดยาชา โดยฟันบนจะฉีดยาชาบริเวณฟันที่จะถอน ทั้งด้านแก้มและด้านเพดาน ส่วนใหญ่แล้วฟันบนจะชาค่อนข้างเร็ว แต่เวลาฉีดบริเวณเพดานตอนเดินยาจะค่อนข้างเจ็บนิดนึง ไม่ต้องกังวลไปครับ ไม่ได้เจ็บมากเกินที่เราจะทนได้ ส่วนฟันล่างคุณหมอจะทำให้ชาโดยการบล๊อคเส้นประสาท โดยถ้าเป็นฟันล่างถ้าชาแล้ว จะชาที่บริเวณริมฝีปากล่างครึ่งหนึ่ง ลิ้นครึ่งหนึ่ง และแก้ม ในด้านที่จะถอนครับ

-หลังจากฉีดยาชาแล้ว คุณหมอจะทดสอบ ว่าชาหรือไม่ โดยใช้ปลายแหลมของเครื่องมือ บอกไว้ก่อนเลยว่า เวลาใช้เครื่องมือทดสอบจิ้มๆลงไป จะไม่เจ็บ แต่ตัวคนไข้จะยังรู้สึกว่า มีอะไรทู่ มากดบริเวณนั้น –ไม่เจ็บแต่ยังรู้สึกถึงแรงกดแรงดัน รู้สึกว่าฟันขยับอยู่ — อันนี้คือชาแล้วนะครับ

อาการชาหลังจากฉีดยาชา แบบไหนที่เรียกว่าชาแล้ว
การทำฟัน โดยเฉพาะปัจจุบันต้องไม่มีความเจ็บปวดหรือ สร้าง … เพิ่มเติม
-หากมั่นใจว่าชาแล้ว คุณหมอจะค่อยๆให้ฟันหลวมกับกระดูกเบ้าฟัน โดยจะใช้เครื่องมือขยับๆ แซะๆรอบฟันที่จะถอน

-หลังจากนั้น คุณหมอจะใช้คีมจับฟัน แล้วค่อยๆขยับซ้ายขวาเบาๆ เพื่อนำฟันออกมา กระบวนการนี้คุณจะรู้สึกถึงฟันค่อยๆจะหลุดออกจากเบ้าฟัน รู้สึกถึงแรงที่คุณหมอจะถอน แต่จะไม่เจ็บไม่ปวด

-หลังจากถอนเสร็จ คุณหมอจะให้คุณคัดผ้า ประมาณ 1 ชั่วโมง เลือดน้ำลายให้กลืน เพราะถ้าบ้วนเลือด บ้วนน้ำลาย หรืออมไม่ยอมกลืน เลือดจะไหลไม่หยุด !

ปวดแผลถอนฟันอย่างรุนแรง ทำอย่างไรดี
อาการปวดแผลถอนฟันในกรณีฟันแท้อย่างรุนแรงเรียกว่า “ … เพิ่มเติม

การดูแลตัวเองหลังถอนฟันหรือผ่าฟันคุด
หากเราต้องถอนฟัน อาจจะต้องถอนจากโรคฟันหรืออุบัติเหตุหรื … เพิ่มเติม
แค่นี้เอง อย่าเพิ่งวิตก ไม่มีอะไรน่ากลัว พูดคุยกับคุณหมอหรือผู้ช่วยทันตแพทย์ เพื่อลดความวิตกกังวลได้ ที่แน่ๆ แยกให้ออกระหว่าง ชา กับไม่ชานะครับ …
